ประชากรนกบนโลกลดลงต่อเนื่องตามการเปลี่ยนแปลงของโลก ทุกวันที่ 5 มกราคม จึงถูกตั้งให้เป็น “วันนกแห่งชาติ” (National Bird Day) เพราะคาดหวังให้มนุษย์ร่วมโลกตระหนักคุณประโยชน์และอนุรักษ์นกมากขึ้น
“วันนกแห่งชาติ” จัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1894 โดย ชาร์ล อมอนโซ แบตคุก ผู้อำนวยการโรงเรียนในเมืองโอลด์ ซิตี รัฐเพนซิเวเนีย
พอเอ่ยคำว่า “นก” หลายคนพูดกันบ่อยๆ เพื่อต้องการจะสื่อคำสะแลงในหมู่วัยรุ่น ที่แปลว่า “วืด” หรือ “ชวด” ซึ่งไม่ใช่นกที่บินอยู่บนอากาศที่เราคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน
อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบัน ปัญหาการลดลงอย่างต่อเนื่องของประชากรนกไม่ว่าด้วยปัจจัยทางโรคภัย ปัญหามลภาวะ และถูกล่าโดยมนุษย์นั้นทำให้มีปริมาณลดลง กระทั่งสูญพันธุ์ในหลายชนิด
การเฉลิมฉลองวันนกแห่งชาติ จึงไม่ต้องมีพิธีรีตองอะไรไปมากกว่า ร่วมกันตระหนักถึงปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อประชากรนกในโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นการทำลายแหล่งอาศัย การกระทำต่างๆ อันเป็นภัยคุกคามต่อนกในธรรมชาติ รวมถึงการค้าขายซื้อนกที่ผิดกฎหมาย ดังนั้นหากส่งต่อความรู้และค่านิยมที่ถูกต้องต่อๆ กันไป ก็นับเป็นการฉลองวันนกที่ดีที่สุดแล้ว
วันนกแห่งชาติ ขอชวนไปดูตัวอย่าง 7 นกหายากในเมืองไทยที่สุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เพราะมนุษย์ไม่ว่าทางตรงโดยการล่าหรือทางอ้อม เพื่อให้คนไทยที่เคยมองข้ามหันกลับมาใส่ใจต่อการอนุรักษ์นกมากขึ้น
นกกะเรียน
เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ เคยพบอาศัยอยู่ในท้องทุ่งในพื้นที่ราบทั่วประเทศ ในอดีตนกกะเรียน มักพบรวมฝูงกันเป็นจำนวนมากนับหมื่นตัวในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ส่วนใหญ่พบที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ แต่นกกะเรียนได้ลดจำนวนลงตามลำดับ โดยเฉพาะเมื่อบ้านเมืองขยายตัวมากขึ้น ซึ่งทำให้พื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของนกกะเรียนได้ถูกมนุษย์ยึดครองเป็นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย ทำให้นกขนาดใหญ่ชนิดนี้หมดโอกาสที่จะมีชีวิตในเมืองไทยอีกต่อไป เนื่องจากขาดแคลนแหล่งอาศัย
สายพันธุ์ นกกะเรียนไทยในอดีตที่เคยมีผู้พบเห็นจำนวนนับพัน นับหมื่นตัว จึงกลายเป็นนกหายาก ที่พอจะมีให้เห็นบ้างก็เป็นนกที่อพยพย้ายถิ่นมา เราจะได้พบเห็นนกกะเรียนอีกครั้งเฉพาะเมื่อถึงฤดู “นกกะเรียนคืนถิ่น” เท่านั้น ซึ่งประเทศไทยได้ขอนกกะเรียนพันธุ์ไทยมาจากต่างประเทศ เพื่อกลับมาเพาะขยายพันธุ์ในเมืองไทยอีกครั้ง และนำไปปล่อยให้อาศัยอยู่ในธรรมชาติ
สำหรับนกกระเรียนไทยเป็นสัตว์ป่าสงวนหนึ่งใน 19 ชนิดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 สถานะภาพปัจจุบันจัดเป็นสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติแล้ว ประเทศไทยพบนกกระเรียนในธรรมชาติครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2511 ที่บริเวณชายแดนติดกับกัมพูชา
นกอ้ายงั่ว
นกอ้ายงั่ว หรือนกคองู เป็นนกที่พบได้ตลอดทั้งปีทั่วประเทศ ตั้งแต่ภาคเหนือจรดลงไปถึงภาคใต้ เมื่อผ่านไปหลายเวลา ต้นไม้ใหญ่ถูกตัดลง ถูกทำลาย บึงน้ำชานกรุงถูกถม เปลี่ยนเป็นบ้านหลังใหม่ และโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ นกอ้ายงั่วก็สูญหายไปพร้อมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
นกอ้ายงั่วถือเป็นตัวชี้วัดความสมบูรณ์ของธรรมชาติได้ดี เนื่องจากมีการอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีอาหารมาก และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
เป็นนกท้องถิ่นในประเทศไทย แต่กำลังอยู่ในสถานะที่ถูกคุกคาม แถมได้รับการคุ้มครองในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ในจังหวัดชัยภูมิและสระแก้วที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันออก
นกกาบบัว
นกกาบัวอยู่ในวงศ์นกกระสาเคย พบได้ง่ายๆ ตามหนองบึงและท้องทุ่งทั่วทั้งประเทศ ตั้งแต่ภาคเหนือลงไปถึงภาคใต้ แต่ปัจจุบันนกกาบัวพบเห็นได้ไม่บ่อย และส่วนใหญ่จะเป็นนกอพยพย้ายถิ่นมาอยู่ในพื้นที่นี้ แต่สถานะของนกชนิดนี้ยังคงเป็นนกท้องถิ่น เนื่องจากยังมีพื้นที่ให้พวกมันสร้างรังวางไข่เป็นแหล่งสุดท้าย ที่อยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง
ในปกติที่ไม่ค่อยพบเห็นนกกาบัวครั้งละหลายๆ ตัว นอกจากในฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งนกจะพากันมาทำรังวางไข่บนต้นไม้ต้นเดียวกันหรือต้นไม้ที่อยู่ใกล้กัน นกกาบัวมักผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาวถึงฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธุ์ถึงเดือนเมษายน โดยเป็นนกผู้เพศเดียวเมียเดียวตลอดฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งอาจตลอดชีวิตก็เป็นไปได้ มักทำรังรวมกันเป็นกลุ่มบนยอดไม้สูงใหญ่ที่ขึ้นใกล้แหล่งน้ำหรืออยู่ในแหล่งน้ำ เช่น ต้นยางนา ต้นเทียะ ต้นกระทุ่มน้ำ และต้นเสม็ด เป็นต้น ทว่าต้นไม้สูงใหญ่แข็งแรงพอที่จะให้นกขนาดใหญ่ชนิดนี้ทำรังวางไข่ก็ถูกตัดโค่นลงมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
การพบเห็นนกกาบัวในประเทศไทยยังไม่มีมากนัก หากมีการป้องกันการล่าและการเก็บไข่นก สถานะภาพของนกกาบัวในประเทศไทยน่าจะเพิ่มมากขึ้นจนเป็นนกท้องถิ่นที่พบเห็นได้ตลอดปีเหมือนเช่นในอดีต
นกตะกรุม
นกตะกรุมถือเป็นนกที่คนทั่วไปคุ้นเคยอย่างมาก ถึงขั้นที่มีชื่อของมันเป็นศัพท์ที่ใช้เลียนแบบคนที่มีสถานะสูง และนกตะกราม ซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดกับนกตะกรุม ที่มีนิสัยในการรับประทานอาหารมูมมาม ถูกใช้เป็นตำหนิและดูหมิ่นคนที่ชอบรับประทานอาหารมูมมามว่า เป็นคนตะกละตะกราม
นกตะกรุมมีรูปร่างคล้ายกับนกตะกราม แต่มีขนาดเล็กกว่าและไม่มีถุงใต้คอ เป็นนกที่หาได้ยากมากในประเทศไทย เคยพบบางแห่งทั้งในจังหวัดศรีสะเกษ, ราชบุรี, ชุมพร, ตรัง, ประจวบคีรีขันธ์, และนราธิวาส และมีรายงานการทำรังแพร่ขยายพันธุ์ในบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ในจังหวัดพัทลุง และป่าพรุ ในเขตจังหวัดนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2522 แต่ในปัจจุบัน เหลือเพียงฝูงน้อยที่เกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ที่มีความเงียบสงบและห่างไกลจากการรบกวนของมนุษย์ มีรายงานการพบ 2 ตัวในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย เมื่อปลายปี พ.ศ. 2556
การพบเห็นนกตะกรุม – ตะกรามน้อยเป็นเรื่องน้อยมากและเป็นไปได้ไม่บ่อย และมักจะเป็นนกที่อพยพเข้ามาจากกัมพูชา เนื่องจากกัมพูชายังคงมีสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่สมบูรณ์มากกว่าในประเทศไทย นกตะกรุมถูกคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
นกแร้ง
หรือชื่อท้องถิ่นว่า “แร้ง” ในปัจจุบันนี้ นกแร้งทุกชนิดมีการลดลงอย่างรวดเร็วในสภาพที่ใกล้สูญพันธุ์และยากจะพบเจอ เนื่องจากถิ่นอาศัยตามธรรมชาติถูกรุกรานและสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป เมื่อศพและซากสัตว์ถูกฝังหรือเผาอย่างถูกต้อง นกแร้งจึงขาดอาหาร เพิ่มเติมถึงเมื่อต้นไม้ใหญ่หมดไป ฝูงแร้งหลายชนิดจึงลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว นกที่ยังคงอยู่จำเป็นต้องหลบหนีหายไปทั้งหมดเพื่อความอยู่รอด บางกลุ่มก็ไปพึ่งป่าบางแห่งที่ยังมีสัตว์ป่าชุกชุมเพื่อการรับประทาน ซึ่งทำให้นกแร้งต้องตายลงเนื่องจากการรับประทานซากสัตว์ที่ปนเปื้อนสารเคมีและเชื้อโรคต่าง ๆ
ในประเทศไทยมีนกแร้งทั้งหมด 5 ชนิด ที่ถูกแบ่งออกเป็นนกแร้งอพยพ 2 ชนิด ได้แก่ แร้งดำหิมาลัย (Aegypius monachus) และ แร้งสีน้ำตาลหิมาลัย (Gyps himalayensis) และนกแร้งประจำถิ่น 3 ชนิด ได้แก่ พญาแร้ง (Sarcogyps calvus), แร้งสีน้ำตาล (Gyps itenuirostris) และแร้งเทาหลังขาว (G. bengalensis) ซึ่งทุกชนิดเป็นสัตว์ป่าที่ได้รับคุ้มครอง และมีสถานะใกล้สูญพันธุ์ทั้งหมด
นกแร้งที่ประจำถิ่นในประเทศไทยในปัจจุบันมีโครงการเพาะพันธุ์พญาแร้งเพื่อฟื้นฟูประชากรที่ถูกอพยพไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ภายใต้ความร่วมมือของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นกเงือก
นกเงือกเป็นนกขนาดใหญ่ที่มีทั้งหมด 13 ชนิดในประเทศไทย มีชื่อเสียงว่าเป็น “นกปลูกป่า” เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการรักษาสมดุลของธรรมชาติ นกเงือกอาศัยในป่าหรือพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เพราะเป็นนกขนาดใหญ่ที่กินทั้งผลไม้และสัตว์ และมีบทบาทในการกระจายพันธุ์พืชต่าง ๆ ในป่า
นกเงือกมีพฤติกรรมการสร้างรังที่เป็นเอกลักษณ์ โดยตัวเมียจะขังตัวอยู่ภายในโพรงและปิดปากโพรง เพียงแค่เปิดช่องพอให้ตัวผู้นำอาหารมาป้อน และเมื่อลูกฟักและเติบใหญ่ขึ้น นกเงือกจะเจาะปากโพรงเพื่อออกมา ลำตัวขนาดใหญ่ของนกเงือกทำให้ต้องการต้นไม้ที่มีลำต้นสูง เพื่อสร้างรัง จึงทำให้ป่าดงดิบที่มีต้นไม้ใหญ่เป็นที่อยู่ที่เหมาะสม
ทั้งหมด 13 ชนิดของนกเงือกถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง มีการศึกษา วิจัย และอนุรักษ์นกเงือกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 และมีมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือกจัดตั้งขึ้นโดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
นกปรอดแม่ทะ
นกปรอดแม่ทะเป็นนกที่พบในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย แต่ปัจจุบันมีจำนวนน้อยและเป็นที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เนื่องจากถูกจับมาเลี้ยง จึงได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
นกปรอดแม่ทะมีขนาดใหญ่กว่านกปรอดชนิดอื่น ๆ โดยมีลำตัวยาวประมาณ 29 เซนติเมตร ลักษณะเด่นที่สามารถจำได้คือ บนกระหม่อมมีสีเหลืองและมีเส้นสีดำลากผ่านตาจากโคนปาก มีเส้นสีลากลงมาทางด้านข้างของลำคอ หัว หลัง และหน้าอก ลายเป็นทางเล็ก ๆ สีเทา
นกปรอดแม่ทะมีเสียงที่ไพเราะ แต่กลับเป็นนกที่มีโชคร้าย เนื่องจากถูกจับมาเลี้ยงเป็นจำนวนมาก แม้จะมีการเลี้ยงนกชนิดนี้ในบ้านหรือจำหน่ายในตลาดนก แต่คาดว่านกปรอดแม่ทะอาจจะหายพันธุ์ไปแล้ว เนื่องจากไม่มีรายงานการพบเห็นนกชนิดนี้มาก่อน ทั้ง ๆ ที่เป็นนกที่เคยพบได้ทั่วไปในป่าที่ราบต่ำของภาคใต้
ปัจจุบันนกปรอดแม่ทะมีจำนวนน้อยและเป็นที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เนื่องจากถูกจับมาเลี้ยง และได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
# นกหายาก
# นกหายากที่สุดในโลก
# นก 10 ชนิด หายาก
# นกหายาก ใกล้สูญพันธุ์
# นกหายากในไทย
# รูป นก หายาก
# นกแก้วหายาก