รู้จักนกกวัก: ลักษณะ, ที่อยู่, อาหาร และพฤติกรรม

นกกวัก

รู้จักนกกวัก: ลักษณะ, ที่อยู่, อาหาร และพฤติกรรม

นกกวัก (White-breasted Waterhen) เป็นนกที่อยู่ในกลุ่มนกน้ำและสามารถพบเห็นได้ในพื้นที่ป่าชายเลนศูนย์ฯสิรินาถราชินี ชื่อนี้คงไม่เป็นที่ไม่คุ้นเคยหากคุณเคยอยู่ในพื้นที่นี้ แม้กระนั้น, บางคนอาจยังไม่เคยได้สังเกตหน้าตาของนกชนิดนี้มาก่อน นกกวักมีขนาดประมาณ 25-35 ซม. มีสีขาวที่หน้าผาก, คอ, อก และท้อง ที่ตัดกับส่วนของกระหม่อมคอด้านบน และลำตัวด้านบนที่มีสีเทา-ดำ มีขนคลุมโคนหางด้านล่างที่มีสีน้ำตาลแดง นกมีปากสีเขียวที่เรียวแหลม

ในศูนย์ฯสิรินาถราชินี, นกกวัก สามารถพบได้ทั้งในชายป่าและบางครั้งอาจพบเจ้านกกวักที่กำลังเดินกึ่งวิ่งข้ามถนนเข้าสู่ศูนย์ฯ เนื่องจากหลังพุ่มไม้ในทางเป็นพื้นที่หาอาหารเช่น ปลาขนาดเล็กและแมลง คำแนะนำคือในการเยี่ยมชมศูนย์ฯ, ควรขับรถอย่างช้าๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการสังเกต “นกกวัก” ในธรรมชาติที่นี่ค่ะ

 

ข้อมูลนกกวัก

ชื่อภาษาไทย / นกกวัก

ชื่อภาษาอังกฤษ / White-breasted Waterhen

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ / Amaurornis phoenicurus

 

ลักษณะพิเศษ :

นกกวัก มีปากสีเขียวที่เรียวแหลม, คอยาวปานกลาง, ปีกและขายาวปานกลาง, แข้งและนิ้วสีเขียวทั้ง 2 เพศ มีลักษณะและสีที่คล้ายกัน

ตัวเต็มวัยมีบริเวณหน้าผาก, คอ, อกและท้องสีขาว ซึ่งตัดกับส่วนของกระหม่อม คอด้านบน และลำตัวด้านบนที่มีสีเทา-ดำ และขนคลุมโคนหางด้านล่างที่มีสีน้ำตาลแดง

ตัวไม่เต็มวัยบริเวณด้านบนมีสีน้ำตาล และด้านล่างลำตัวเป็นสีขาวหม่น

 

ถิ่นอาศัย :

นกกวักอาศัยในบริเวณแหล่งน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม เช่น หนอง, บึง, ทุ่งหญ้า, ทุ่งนา และป่าชายเลน

การกระจายพันธุ์พบได้ในอินเดีย, เกาะอันดามัน, เกาะนิโคบาร์, จีนตอนใต้, ไหหลำ, ไต้หวัน, ฮ่องกง, หมู่เกาะซุนดา, สุลาเวซี, และฟิลิปปินส์ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

อาหาร :

นกกวักหากินในตอนเช้าตู่, เย็นค่ำ และกลางคืน โดยกินทั้งพืชและสัตว์ เช่น ข้าว, หญ้า,

และธัญพืช บางครั้งกินพืชน้ำ เช่น จอก, ปหน, สาหร่าย, และสัตว์ส่วนใหญ่เป็นสัตว์น้ำ และแมลง เช่น ลูกกุ้ง, ลูกปลา, ลูกกบ, เขียด, หนอน และตัวอ่อนของแมลง

 

พฤติกรรม :

นกกวัก ใช้วิธีการหากินโดยเดินไปตามกอพืชบนพืชลอยน้ำ, บนดิน และลุยน้ำที่ไม่ลึกมากนัก เมื่อพบอาหารจะใช้ปากจิกกิน

บางครั้งใช้วิธียืนคอยจ้องอยู่บนกอพืชเพื่อจิกกินเหยื่อที่ผ่านเข้ามา นกชนิดนี้จะคล้ายกับไก่มาก และถือว่าเป็นนกที่บินไม่ค่อยเก่ง ในกรณีที่ต้องหลบหนีจากภัยอันตราย, นกกวักจะใช้วิธีการหลบเข้าตามพงหญ้า

 

สถานภาพปัจจุบัน :

สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์

 

อนุกรมวิธาน

CLASS : Aves

ORDER : Gruiformes

FAMILY : Rallidae

GENUS : Amaurornis

SPECIES : White-breasted Waterhen (Amaurornis phoenicurus)

 

สถานะภาพทางการอนุรักษ์ :

สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์

 

วัยเจริญพันธุ์ :

นกกวักทำรังวางไข่เกือบตลอดทั้งปี แต่พบมากในช่วงฤดูฝน หรือระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม ก่อนทำรังนกกวักจะแยกออกจากฝูง หากินโดดเดี่ยว ส่งเสียงร้องเพื่อหาคู่ หลังจากจับคู่และผสมพันธุ์แล้ว จะสร้างรังแบบง่ายๆ ร่วมกัน โดยสร้างบนกอหญ้าหรือพืชลอยน้ำ ไข่มีลักษณะกลมจนถึงรูปไข่ ไข่มีผิวเรียบ มีสีพื้นเป็นสีขาวจนถึงน้ำตาลอ่อน มีจุดสีม่วงเทาหรือน้ำตาลทั่วฟองไข่ และหนาแน่นบริเวณไข่ด้านป้าน แต่ละรังมีไข่ 4-8 ฟอง ทั้งสองเพศช่วยกันผลัดกันฟักไข่ ระยะเวลาฟักทั้งสิ้น 20-25 วัน

 

ขนาดและน้ำหนัก :

นกกวักมีขนาดเล็ก-กลาง (31-33 ซม.)

 

นกกวัก ความเชื่อ

นกกวัก ความเชื่อ นกนำโชคถูกยกให้เป็นนกนำโชคจากชื่อของตัวนกเอง

เนื่องจากเชื่อว่าการเลี้ยงนกนำโชคเหมือนกับการมีนางกวักที่เอาไว้คอยช่วยเรียกลูกค้าให้เข้าร้าน นั่นเป็นนกมงคลที่ช่วยส่งเสริมในเรื่องของการค้าขายได้

 

ความแตกต่างระหว่าง นกกวักตัวผู้ และ นกกวักตัวเมีย

นกกวักตัวผู้ และ นกกวักตัวเมีย มีลักษณะคล้ายกัน โดยตัวเมียจะเล็กกว่าเล็กน้อย ลูกนกมีสีจางกว่าและขนยังปุยมีสีดำเหมือนนกอัญชันทั้งหมด

มักพบว่านกเหล่านี้อาจหากินเดี่ยวหรือเป็นคู่เมื่อกำลังหาอาหารบนพื้นตามริมหนองน้ำ ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีหน้าที่ฟักไข่และดูแลลูกนกเช่นกัน